หลักสูตร
หลักสูตรวิทยาการสารสนเทศบัณฑิต 
สาขาวิชานิเทศศาสตร์ดิจิทัล
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560 

หลักสูตรวิทยาการสารสนเทศบัณฑิต (นิเทศศาสตร์ดิจิทัล) มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ผสานความรู้ทางด้านนิเทศศาสตร์ดิจิทัล เพื่อคิดสร้างสรรค์ วางแผน เตรียมการผลิต ผลิต เผยแพร่ ประเมินผล และวิเคราะห์วิพากษ์ผลงานสื่อดิจิทัลทุกประเภทอย่างครบวงจร เป็นบัณฑิตที่พร้อมประกอบวิชาชีพนิเทศศาสตร์ในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีคุณธรรม และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ  

วิชาที่เปิดสอน ระดับปริญญาตรี   รายวิชาที่เปิดสอน

ลักษณะวิชาที่ศึกษา

หลักสูตรวิทยาการสารสนเทศบัณฑิต (นิเทศศาสตร์ดิจิทัล) เป็นหลักสูตรที่เน้นเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นฐานความรู้ก่อนการศึกษาวิชาชีพทางด้านนิเทศศาสตร์ 

ในการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากหมวดวิชาศึกษาทั่วไปที่เน้นความรู้เรื่องปัจจัยมนุษย์  ปัจจัยองค์การ  และปัจจัยข่าวสารแล้ว ยังต้องศึกษาหมวดวิชาเทคโนโลยีพื้นฐานอันประกอบด้วยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน การสื่อสาร  คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี และวิทยาการจัดการ  เพื่อเตรียมให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่คล่องตัวเข้ากับความต้องการของสภาพการจ้างงานที่แปรเปลี่ยนอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

จากนั้นจึงเริ่มศึกษากลุ่มวิชาเฉพาะเพื่อให้มีความรู้  ทักษะ  และความเชี่ยวชาญเฉพาะในด้านนิเทศศาสตร์ดิจิทัล  โดยวิชาเฉพาะประกอบด้วยกลุ่มของรายวิชา ดังนี้ สามารถเลือกศึกษาในแต่ละกลุ่มวิชาดังนี้

  • การคิดสร้างสรรค์ผลงานทางนิเทศศาสตร์แขนงต่าง ๆ ได้แก่ งานโฆษณาการประชาสัมพันธ์ออนไลน์ สื่อกราฟิก สื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัล เว็บไซต์ มัลติมีเดีย แอนิเมชัน สื่อกระจายเสียงดิจิทัล ภาพยนตร์ดิจิทัล โปรแกรมประยุกต์ และสื่อปฏิสัมพันธ์สมัยใหม่
  • การผลิตสื่อดิจิทัลประเภทต่าง ๆ ตั้งแต่การออกแบบและสร้างสรรค์สื่อ การวางแผนการผลิต การดำเนินการผลิตอย่างครบวงจร
  • การใช้คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ เครื่องมือ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยในการผลิตผลงานทางนิเทศศาสตร์ดิจิทัล
  • การสื่อสารและการถ่ายทอดสารสนเทศสู่ผู้รับสาร/ผู้ใช้สื่อในระดับต่าง ๆ ได้แก่ ระดับบุคคล ระดับกลุ่ม ระดับองค์กร และระดับมวลชนรวมถึงผู้ใช้สื่อที่มีความต้องการเฉพาะ อาทิ เด็ก ผู้สูงอายุ
  • การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจสื่อดิจิทัลและการเป็นผู้ประกอบการ


คุณสมบัติของผู้ศึกษา

นักเรียนที่เรียนสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6  ทุกแผนการเรียน 

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 177 หน่วยกิต (ไตรภาค)
รายละเอียด

แนวทางการประกอบอาชีพสำหรับผู้จบการศึกษา

อาชีพที่สามารถประกอบได้ ได้แก่ อาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับสื่อทุกแขนง ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์  สื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่อวิทยุกระจายเสียง และ สื่อดิจิทัล ทั้งในระดับก่อนการสร้างสรรค์สื่อ การสร้างสรรค์สื่อ และหลังการสร้างสรรค์สื่อ อาทิ ผู้สร้างสรรค์งาน (Creative) ผู้เขียน/สร้างสรรค์คำ (Copy Writer) ผู้วางแผนสื่อ (Media Planner) ผู้ประสานงานการตลาด (Marketing Coordinator) ผู้บริหารงานลูกค้า (Account Executive) นักเขียน (Author)  ผู้เขียนบท (Script Writer) ผู้เรียบเรียงข่าว (Rewriter) ผู้สื่อข่าว (News Reporter)  ผู้สื่อข่าวครบวงจรในคนเดียว (One man band journalist) ผู้ประกาศข่าว (News Announcer) ผู้ดูแลเว็บ (Web Master)  ผู้พัฒนาเว็บ (Web Developer)  ผู้ออกแบบกราฟิก (Graphic Designer) ช่างภาพเคลื่อนไหว (Camera Man) ช่างภาพนิ่ง (Photographer) นักประชาสัมพันธ์ (PR Man) เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ (PR  Officer)  ผู้ควบคุมการผลิต (Producer) ผู้กำกับ (Director) พิธีกร (Moderator) ผู้ตัดต่องาน (Editor) ผู้ออกแบบการ์ตูนภาพเคลื่อนไหว (Animator) และผู้พัฒนาเกม (Game Developer)


ห้องปฏิบัติการและสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน 

  • ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
  • สตูดิโอขนาดมาตรฐานสำหรับออกอากาศ
  • ชุดอุปกรณ์จับความเคลื่อนไหวของร่างกายเพื่องานแอนิเมชัน (Motion Capture)
  • ห้องตัดต่อแบบ Linear Editing  และห้องตัดต่อแบบ Non-linear Editing
  • ชุดลำดับภาพและเสียงเคลื่อนที่
  • ห้องบันทึกเสียงขั้นพื้นฐาน
  • ห้องบันทึกเสียงขั้นสูง
  • ห้องผลิตสื่อกราฟิก
  • ชุดกล้องดิจิทัล Eagle-4 จำนวน 8 กล้อง
  • กล้องและอุปกรณ์การถ่ายภาพนิ่ง
  • กล้องและอุปกรณ์การถ่ายทำวีดิทัศน์ขั้นสูง
  • ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
  • ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา


Download